วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

มอนอ เสี่ยงมหันตภัยจากหลุมยุบจริงหรือ!!!

มอนอ
เสี่ยงมหันตภัยจากหลุมยุบจริงหรือ!!!

หลุมยุบ หรือ Sinkhole เป็นธรณีพิบัติภัยประเภทหนึ่ง เกิดตามธรรมชาติ แต่กิจกรรมของมนุษย์เร่งให้เกิดเร็วขึ้นได้ พบได้ทั่วไปในภูมิประเทศที่ใต้ผิวดินเป็นหินปูน หินโดโลไมต์ และหินอ่อน ซึ่งหินเหล่านี้ละลายได้ในน้ำใต้ดิน และเมื่อเพดานต้านทานน้ำหนักของดินและสิ่งก่อสร้างที่กดทับด้านบนไม่ไหว จึงพังกลายเป็นหลุมยุบ
หลุมยุบมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็นวงกลมหรือวงรี หลุมยุบที่เกิดจากการพังถล่มของเพดานโพรงหรือถ้ำใต้ดินจะมีลักษณะของหลุมชัน แต่หากหลุมยุบที่เกิดเนื่องจากการละลายของหินปูนเป็นหลัก จะมีลักษณะเอียงลาด ขนาดของหลุมนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของโพรงหรือถ้ำใต้ดิน มีตั้งแต่ไม่กี่เมตรถึงหลายร้อยเมตรและลึกหลายสิบเมตร
ปัจจัยที่ทำให้เกิดหลุมยุบนั้น มีหลายปัจจัยแต่ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดหลุมยุบ คือชั้นใต้ดินเป็นชั้นของหินปูนอยู่ในระดับตื้น มีโพรงหรือถ้ำใต้ดิน และการขุดเจาะบ่อบาดาลผ่านชั้นหินปูนใต้ดิน ทำให้แรงดันน้ำและอากาศภายในโพรงหินปูนเกิดการเปลี่ยนแปลง หลุมยุบนั้นสังเกตได้จาก การทรุดตัวของดินทำให้เกิดแอ่งน้ำขนาดเล็กในบริเวณที่ไม่เคยมีแอ่งน้ำมาก่อน น้ำในบ่อ สระ เกิดการขุ่นข้น หรือเป็นโคลนโดยไม่มีสาเหตุ อาคารบ้านเรือนทรุด มีรอยปริแตกบนกำแพง ทางเดินเท้า และพื้นดิน เป็นต้น
ประเทศไทย ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศในโลกที่เคยเกิดเหตุการณ์หลุมยุบ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน กรมทรัพยากรธรณีได้รับแจ้งและเข้าไปตรวจสอบในพื้นที่มากกว่า 45 แห่งโดยพบว่าพื้นที่ที่เกิดหลุมยุบในพื้นที่ราบใกล้ภูเขาหินปูนภายหลังการเกิด สึนามิ เพราะว่ามีหลุมยุบเกิดขึ้นมากกว่า 19 ครั้งโดยเกิดใน 4 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ จังหวัดสตูล พังงา กระบี่ และตรัง ถึง 14 ครั้ง เกิดในภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 4 ครั้ง และเกิดในภูมิภาคอื่นคือ จังหวัดเลย 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2548 ได้รับรายงานจากกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ได้ออกประกาศพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดหลุมยุบเพิ่มเติม รวมพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดหลุมยุบทั่วประเทศ 49 จังหวัดได้แก่ กาญจนบุรี กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ นราธิวาส น่าน ประจวบศิรีขันธ์ ปราจีนบุรี ปัตตานี พะเยา พังงา พัทลุง พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ยะลา ระนอง ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย สงขลา สระแก้ว สระบุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี หนองบัวลำภู อุดรธานี อุตรดิตถ์และอุทัยธานี (อ้างอิง:สุทัศน์/สวท.อุตรดิตถ์ : ข่าว)
พิษณุโลก เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีโอกาสเกิดหลุมยุบ เนื่องจากภูมิประเทศบางส่วนของจังหวัดพิษณุโลก เป็นภูเขา เช่นที่อำเภอ นครไทย มีภูเขาป็นภูเขาหินปูน ซึ่งเมื่อได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรง ทำให้หินปูนที่มีคุณสมบัติแข็งแต่เปราะได้รับการกระทบกระเทือน เพดานโพรงหรือถ้ำใต้ดินที่ไม่แข็งแรงเกิดการยุบตัวลงและอาจถล่มลงมาได้ ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว บริเวณไกล้เคียงก็จะได้รับความเสียหายตามมา เพราะเนื่องจากการที่แผ่นดินยุบตัวนั้น จะกินเนื้อที่เป็นบริเวณกว้าง อำเภอเมืองก็อาจจะได้รับผลกระทบนี้ด้วยเช่นกัน รวมทั้ง “มอนอ” ซึ่งมีความสัมพันธ์กับข้อมูลเบื้องต้นทำให้ “มอนอ” มีโอกาสที่จะเกิดหลุมยุบขึ้นได้ โดยเฉพาะในปัจจุบัน มีการขุดเจาะน้ำบาดาลกันมาก ในหลายพื้นที่เพื่อใช้ในการอุปโภค บริโภค และเพื่อทำการเกษตรด้วยแล้ว เมื่อเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง จึงอาจมีผลกระทบได้ แต่ระยะเวลาในการเกิดนั้นเราไม่ทราบแน่นอน เนื่องจากสาเหตุหลักเกิดจากธรรมชาติ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น
ดังนั้น สาเหตุที่เกิดอาจหลุมยุบนั้นไม่ใช่เฉพาะจากภัยธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ คือการดูดน้ำบาดาลมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้ชั้นหินใต้ดินที่มีน้ำแทรกซึมอยู่เกิดเป็นโพรงหรือถ้ำใต้ดิน นำมาสู่ปัจจัยการเกิดหลุมยุบในอนาคตอันไกล้ เพราะฉะนั้นหากบริเวณ “มอนอ” ยังมีการกระทำเช่นนี้อีก อาจส่งผลให้บริเวณ “มอนอ” เกิดเหตุการณ์หลุมยุบขึ้นได้







อ้างอิง: กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. หลุมยุบ. 2548.
: www.google.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น